หมวดหมู่: การศึกษา

01 CFABAFรมช.ศธ.คณหญงกลยา


รมช.ศธ.'คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช'มอบนโยบาย สทศ.

      ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช รัฐมนตรีช่วยว่าการกระทรวงศึกษาธิการ มอบนโยบายในการตรวจเยี่ยมสถาบันทดสอบทางการศึกษาแห่งชาติ (องค์การมหาชน) (สทศ.) ว่า ได้รับมอบหมายจากนายณัฏฐพล ทีปสุวรรณ รมว.ศึกษาธิการ ให้ดูแลรับผิดชอบ สทศ. ซึ่งดำเนินการจัดตั้งครบรอบ 14 ปี เมื่อวันที่ 3 กันยายนที่ผ่านมา โดยย้ำให้ดำเนินการด้วยความซื่อสัตย์สุจริต เพราะการทุจริตเป็นมะเร็งของประเทศ ขอให้ทำงานด้วยความโปร่งใส ให้ประชาชนทุกคนรับรู้ หากจะปรับปรุงเปลี่ยนแปลงระบบการสอบใด ๆ ขอให้ทำอย่างตรงไปตรงมา และบริหารงานตามกฎหมายที่อาจมีการปรับปรุงเปลี่ยนแปลงต่อไปในอนาคต

     ทั้งนี้ ได้กำชับให้ สทศ. ดำเนินการขับเคลื่อนตามนโยบายเร่งด่วนของรัฐบาล 12 ข้อ ซึ่งหนึ่งในนโยบายสำคัญของกระทรวงศึกษาธิการ คือ

     “ข้อ 7 การเตรียมคนไทยสู่ศตวรรษที่ 21 โดยสร้างแพลตฟอร์มการเรียนรู้ใหม่ในระบบดิจิทัล ปรับปรุงรูปแบบการเรียนรู้มุ่งสู่ระบบการเรียนการสอนวิทยาศาสตร์ เทคโนโลยี ด้านวิศวกรรม คณิตศาสตร์ โปรแกรมเมอร์ และภาษาต่างประเทศ ส่งเสริมการเรียนภาษาคอมพิวเตอร์ (Coding) ตั้งแต่ระดับประถมศึกษา* การพัฒนาโรงเรียนคุณภาพในทุกตําบล ส่งเสริมการพัฒนาหลักสูตรออนไลน์ของสถาบันการศึกษาต่าง ๆ เพื่อแบ่งปันองค์ความรู้ของสถาบันการศึกษาสู่สาธารณะ เชื่อมโยงระบบการศึกษากับภาคปฏิบัติจริงในภาคธุรกิจ สร้างนักวิจัยใหม่และนวัตกรเพื่อเพิ่มศักยภาพด้านเทคโนโลยีและนวัตกรรมของประเทศ สร้างความรู้ความเข้าใจการใช้เทคโนโลยีดิจิทัล สื่อออนไลน์ และโครงข่ายสังคมออนไลน์ของคนไทย เพื่อป้องกันและลดผลกระทบในเชิงสังคม ความปลอดภัย อาชญากรรมทางไซเบอร์ และสามารถใช้เทคโนโลยีเป็นเครื่องมือในการกระจายข้อมูลข่าวสารที่ถูกต้อง การสร้างความสมานฉันท์ และความสามัคคีในสังคม รวมทั้งปลูกฝังคุณธรรม จริยธรรมที่จําเป็นในการดําเนินชีวิต”

     *ศธ.จะเริ่มสอนโค้ดดิ้งในชั้นประถมศึกษาปีที่ 1-3 ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 2562 เดือนพฤศจิกายนนี้ และในอนาคตจะมีการขยายการสอนไปในระดับชั้นอื่น ๆ

     โอกาสนี้ ดร.คุณหญิงกัลยา โสภณพนิช ได้กล่าวถึงนโยบายและแนวทางการทำงาน 4 เรื่องที่สำคัญ คือ

     1. การผลักดันหลักสูตรโค้ดดิ้ง เพื่อไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถในการคิดและวิเคราะห์

     2. การยกระดับวิทยาลัยเกษตรและเทคโนโลยี เพื่อนำไปสู่การพัฒนาผู้เรียนให้มีความรู้ความสามารถในการคิดและวิเคราะห์ การทำให้เกษตรกรรมเป็นรากฐานของการดำรงชีวิตของประชาชน ด้วยการสร้าง Smart Farmer และยกระดับทักษะของเกษตรกรในทุกระดับและทุกวัย โดยการมีส่วนร่วมของผู้ประกอบการและเกษตรกร

     3. การส่งเสริมการอ่านการเขียนให้แก่ประชาชน เพราะการอ่านจะนำมาซึ่งความรู้และมีคุณภาพในศตวรรษที่ 21 ต้องส่งเสริมให้เด็กรักการอ่านด้วยวิธีการสมัยใหม่ มีสื่อการเรียนการสอนและกิจกรรมที่ดี สามารถใช้ภาษาได้อย่างถูกต้อง

     4. การส่งเสริมจิตอาสาตามแนวพระราชดำริของในหลวงรัชกาลที่ 10 เพื่อสร้างบรรยากาศของคนไทยที่เกื้อหนุนซึ่งกันและกัน

     ดังนั้น สทศ.อาจจะสอดแทรกลงในแบบทดสอบทางการศึกษาระดับชาติขั้นพื้นฐาน (O-NET) ส่วนเรื่องของโค้ดดิ้ง (Coding) ซึ่งในระดับ ป.1-3 ยังไม่ได้อยู่ในช่วงการทดสอบของ สทศ. นั้น ขอให้เตรียมความพร้อมเพื่อจัดสอบในระดับชั้น ป.6 ม.3 และ ม.6 ที่จะมีการขยายการสอนโค้ดดิ้งในอนาคตต่อไปด้วย

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!