หมวดหมู่: งานวิจัยเศรษฐกิจ

1AAAKBloomberg


บลูมเบิร์ก เปิดเผยผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจกระแสใหม่

       เผยผลการสำรวจความคิดเห็นเกี่ยวกับเรื่องเศรษฐกิจกระแสใหม่ จัดทำโดย บลูมเบิร์ก ซึ่งได้จัดทำขึ้นเมื่อเดือนที่แล้ว โดยการสำรวจความคิดเห็นจากผู้ที่ทำงานในแวดวงธุรกิจ 2,000 คน จาก 20 ประเทศทั่วโลก ผลการสำรวจนี้ถือเป็นตัวชี้วัดทัศนคติของสาธารณชนที่มีต่อช่วงเปลี่ยนผ่านของเศรษฐกิจโลก ทั้งยังแสดงให้เห็นถึงมุมมองที่แตกต่างกันเป็นอย่างมากระหว่างตลาดเกิดใหม่กับตลาดที่พัฒนาแล้วเกี่ยวกับการเติบโตของเศรษฐกิจใหม่

 

ผลการสำรวจ พบว่า:

·     นักธุรกิจส่วนใหญ่เชื่อว่าระบบการค้าโลกจะสามารถฟื้นตัวได้ในระยะยาว แต่มีเพียงครึ่งหนึ่งเท่านั้นที่คาดว่าการค้าทั่วโลกจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วงเวลาอีก 5 ปีข้างหน้า

·     จีน สหรัฐอเมริกา และญี่ปุ่น ถูกมองว่าจะยังคงเป็นมหาอำนาจทางเศรษฐกิจต่อไปในช่วง 10 ปีข้างหน้า ตามมาด้วยอินเดีย

·     ธรรมาภิบาลโลก คือประเด็นที่ถูกระบุว่าเป็นความท้าทายที่สำคัญที่สุดในปัจจุบันและควรต้องมีการจัดการอย่างเร่งด่วนที่สุด

·     ผู้ตอบรับการสำรวจจากตลาดเกิดใหม่มีความมั่นใจและแรงผลักดันในการเตรียมพร้อมรับมือกับสถานการณ์ในอนาคตมากกว่าผู้ตอบรับการสำรวจจากตลาดที่พัฒนาแล้ว

ผู้ตอบรับการสำรวจจากประเทศไทย แสดงความเห็นว่า:

·     ผู้ตอบรับการสำรวจจากประเทศไทยร้อยละ 67 เชื่อมั่นว่าระบบการค้าโลกจะฟื้นตัวได้ไม่ช้าก็เร็ว

·     ประเทศไทยเป็นตลาดที่มีความเชื่อมั่นทางการค้าสูงที่สุด โดยมีผู้ตอบรับการสำรวจถึง 4 ใน 5 (ร้อยละ 80) ที่เชื่อว่าการค้าโลกจะเพิ่มสูงขึ้นในช่วง 5 ปีข้างหน้า เมื่อเทียบกับค่าเฉลี่ยของผู้ตอบรับการสำรวจทั่วโลก (ร้อยละ 55)

·     ประเด็นที่ผู้ตอบรับการสำรวจจากประเทศไทยวิตกกังวลมากที่สุดเกี่ยวกับเศรษฐกิจในอนาคต ได้แก่ ภาวะเศรษฐกิจถดถอยและวิกฤติทางการเงิน (ร้อยละ 56) ความไม่มั่นคงทางการเมืองและสังคม (ร้อยละ 47) และความขาดแคลนในการจ้างงาน (ร้อยละ 46)

·     ในส่วนของการเตรียมพร้อมรับมือกับระเบียบเศรษฐกิจในอนาคต ผู้ตอบรับการสำรวจจากประเทศไทยระบุว่า พวกเขาได้เรียนรู้เกี่ยวกับเทคโนโลยีใหม่ ๆ (ร้อยละ 78) พัฒนาทักษะและเข้าเรียนหลักสูตรเพิ่มเติม (ร้อยละ 54) และให้ความสำคัญกับสิ่งแวดล้อมมากขึ้น (ร้อยละ 48)

·     กว่าครึ่งของผู้ตอบรับการสำรวจจากประเทศไทย (ร้อยละ 53) เชื่อว่าเทคโนโลยีใหม่ ๆ อย่าง AI จะส่งผลค่อนไปในทางบวก แต่อาจมีผลพวงในเชิงลบที่ตามมา เช่น การสูญเสียงานสำหรับคนงานทั่วไป ช่องว่างความไม่เท่าเทียมทางเศรษฐกิจที่กว้างมากขึ้น และส่งผลเชิงลบต่อความไม่มั่นคงทางสังคม

·     การเงินและตลาดทุน (ร้อยละ 25) ธรรมาภิบาลโลก (ร้อยละ 23) และการค้า (ร้อยละ 18) คือประเด็นที่ผู้ตอบรับการสำรวจจากประเทศไทยมองว่าเป็นความท้าทายสำคัญที่จะส่งผลกระทบต่อโลกในอนาคต และควรต้องมีการดำเนินการแก้ปัญหาอย่างเร่งด่วนที่สุด

         

Click Donate Support Web

468x60 16

BIT FUN728x90

yobit 560 60

8

468x60 bit

468x60 DOG

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!