หมวดหมู่: งานวิจัยเศรษฐกิจ

1aaaBA4sme26


ผลสำรวจชี้ชัดอุตสาหกรรมเกษตร-อาหารแปรรูปไทย ต้องการยกระดับเทคโนโลยี SME Development Bank ประกาศสร้างถนนสายดิจิทัลพาสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

     ม.หอการค้าไทย เผยผลสำรวจแนวโน้มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปไทย ชี้ผู้ประกอบการให้ความสำคัญ และต้องการยกระดับด้านเทคโนโลยี เครื่องจักร สารสนเทศ เชื่อช่วยลดต้นทุน สร้างมาตรฐาน เติบโต และขยายตลาดโกอินเตอร์ ด้าน SME Development Bank ประกาศสร้างถนนสายดิจิทัล เสิร์ฟความรู้คู่ทุน พาเอสเอ็มอีเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0

      รองศาสตราจารย์ ดร.เสาวณีย์ ไทยรุ่งโรจน์ อธิการบดี มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย กล่าวถึงผลการสำรวจ “แนวโน้มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูปไทยในยุคดิจิทัล” จากกลุ่มตัวอย่าง 1,219 ตัวอย่าง แบ่งเป็นอุตสาหกรรมมิใช่อาหาร 22.49% และอุตสาหกรรมอาหาร 77.51% ว่า ตลาดส่วนใหญ่ ขายในประเทศ 95.72% ขายในประเทศคู่ต่างประเทศ 4.12% และตลาดเฉพาะต่างประเทศ 0.16% โดยผู้ประกอบการมีการขายออนไลน์ด้วย (E-Commerce) ถึง 65.7% ส่วนไม่มีการขายออนไลน์ 34.3%

    ทั้งนี้ ผู้ประกอบการที่สามารถยกระดับธุรกิจเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 ด้วยการใช้งานวิจัย เทคโนโลยี และนวัตกรรมชั้นสูงสำเร็จแล้ว มีเพียง 2.87% เท่านั้น ส่วนที่ทำธุรกิจในยุค 3.0 คือ ใช้เครื่องจักรหนักมากขึ้น 1.97% ขณะที่ ผู้ประกอบการส่วนใหญ่ยังทำธุรกิจแบบยุค 2.0 อาศัยแรงงานร่วมกับเครื่องจักรขนาดเล็ก สูงถึง 72.33% และทำธุรกิจ แบบยุค 1.0 โดยใช้แรงงานเป็นหลัก 22.82% ซึ่งกลุ่มนี้ส่วนใหญ่เป็นธุรกิจขนาดเล็ก 23.40% ส่วนธุรกิจขนาดกลาง เหลือการทำธุรกิจแบบยุค 1.0 เพียง 2.38%

      เมื่อถามถึงความสำคัญของเทคโนโลยี กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่สูงถึง 42.28% บอกว่า สำคัญมาก ส่วนที่บอกว่าไม่สำคัญเลย มีเพียง 3.28% บ่งบอกว่า ปัจจุบันผู้ประกอบการมีความตื่นตัว และต้องการนำเทคโนโลยีมาใช้ยกระดับธุรกิจ ส่วนการนำเทคโนโลยีมาใช้แล้วในปัจจุบัน อยู่ระดับปานกลาง 50.73% ซึ่งเหตุผลที่ใช้เทคโนโลยี เช่น สะดวกและรวดเร็ว 19.67% ควบคุมการผลิตได้ง่าย 18.41% และผลผลิตมีมาตรฐาน 14.19 เป็นต้น ส่วนเหตุผลที่ไม่ใช่เทคโนโลยี เช่น ค่าใช้จ่ายสูง 30.49% ไม่มีความจำเป็น 25.46% และเห็นว่าใช้แรงงานคนอย่างเดียวนั้นดีอยู่แล้ว 21.78% เป็นต้น

       สำหรับ เทคโนโลยีที่ใช้ทำธุรกิจอยู่ตอนนี้ กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 73.12% บอกว่า ด้อยกว่าอุตสาหกรรมขนาดใหญ่ในประเทศ ดังนั้น 71.92% จึงมีแผนจะลงทุนเทคโนโลยีใหม่เพิ่มในระยะเวลาเร็วๆ นี้ เพราะเชื่อว่า จะช่วยลดต้นทุนการผลิต เพิ่มโอกาสการเจริญเติบโตของธุรกิจ ช่วยให้ธุรกิจมีความทันสมัย ควบคุมการผลิตได้มาตรฐาน ช่วยขยายฐานลูกค้า และบริหารจัดการได้ดี เป็นต้น ซึ่งแหล่งเงินทุนที่จะใช้ กลุ่มตัวอย่าง 68.61% บอกว่า ใช้วิธีกู้ยืมจากแหล่งต่างๆ เช่น ธนาคารพาณิชย์/รัฐบาล ญาติพี่น้อง เป็นต้น นอกจากนั้น กลุ่มตัวอย่างส่วนใหญ่ 47.35% บอกว่า เครื่องหมายมาตรฐานผลิตภัณฑ์อุตสาหกรรมมีความสำคัญต่อธุรกิจมาก

     ผศ.ดร.ธนวรรธน์ พลวิชัย รองอธิการบดีอาวุโสวิชาการและงานวิจัย และผู้อำนวยการศูนย์พยากรณ์เศรษฐกิจและธุรกิจ ม.หอการค้าไทย เผยถึงการใช้เทคโนโลยีสารสนเทศของกลุ่มตัวอย่าง ปัจจุบันอยู่ในระดับปานกลาง 53.82% ซึ่งส่วนใหญ่ถึง 43.73% เชื่อว่าในอนาคตเทคโนโลยีสารสนเทศจะมีความสำคัญมาก

     ทั้งนี้ สิ่งที่ต้องการให้รัฐบาลช่วยเหลือเกี่ยวกับเทคโนโลยีสารสนเทศเพื่อดำเนินธุรกิจ คือ 1.จัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายและการกระจายสินค้า 2.ให้ความรู้/จัดอบรม ข้อมูลทางด้านเทคโนโลยีเพื่อนำไปใช้ในการดำเนินธุรกิจพร้อมทั้งแลกเปลี่ยนความรู้ระหว่างภาครัฐกับผู้ประกอบการ 3.ช่วยส่งเสริมกลยุทธ์ในการแข่งขันทางการตลาดทั้งในประเทศและต่างประเทศ และ 4.ส่งเสริมประสิทธิภาพในการผลิตและนวัตกรรมใหม่ๆ

    ส่วนปัญหาและอุปสรรคใหญ่ในการประกอบธุรกิจ ด้านการผลิต คือ ต้นทุนวัตถุดิบสูงขึ้น ด้านแรงงาน คือ ค่าจ้างแรงงานสูง ด้านการตลาด คือ ระบบโลจิสติกส์ ด้านการเงิน คือ ขาดสภาพคล่อง ด้านความรู้และเทคโนโลยี/นวัตกรรม คือ ขาดความรู้ความเข้าใจในการใช้เทคโนโลยีที่เหมาะสม และด้านนโยบาย/มาตรการภาครัฐ คือ มาตรการสนับสนุนสินเชื่อ (การเข้าถึงสินเชื่อ)

     สำหรับ ความต้องการให้รัฐบาลสนับสนุนนโยบายและมาตรการนั้น ได้แก่ 1.ด้านเงินลงทุน 38.25% 2.ด้านเทคโนโลยี/นวัตกรรม 27.04% 3.ด้านมาตรการภาษี 18.94% 4.ด้านการจัดอบรมความรู้ 10.60% 5.ด้านวิจัยและพัฒนา 3.06% และ 6.ด้านกฎข้อบังคับต่างๆ 2.11%

      ขณะที่สิ่งที่ต้องการได้รับความช่วยเหลือจากภาครัฐ เพื่อส่งเสริมอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป ได้แก่ จัดหาช่องทางการจัดจำหน่ายกระจายสินค้า การลดต้นทุนในการผลิต สร้างนวัตกรรมให้กับสินค้า การจัดสรรทรัพยากรบุคคลและการบริหารจัดการ และความรู้/ข้อมูลข่าวสารที่จำเป็น ส่วนข้อเสนอที่ต้องการได้รับจากธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) ได้แก่ ต้องการให้ปล่อยสินเชื่อในอัตราดอกเบี้ยต่ำ มีขั้นตอนในการขอสินเชื่อที่สะดวกและง่ายขึ้น และส่งเสริมเงินทุนในการส่งออกและกระจายสินค้า

      ด้านนายมงคล ลีลาธรรม กรรมการผู้จัดการ ธนาคารพัฒนาวิสาหกิจขนาดกลางและขนาดย่อมแห่งประเทศไทย (SME Development Bank หรือ ธพว.) กล่าวถึงผลสำรวจดังกล่าว แสดงให้เห็นอย่างเด่นชัดว่า ปัจจุบัน ผู้ประกอบการเอสเอ็มอีไทย กลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป ทั้งขนาดเล็ก ขนาดกลาง ให้ความสำคัญและสนใจที่จะนำเทคโนโลยีสมัยใหม่ ทั้งเครื่องจักร นวัตกรรม ตลอดจน เทคโนโลยีสารสนเทศ มาช่วยยกระดับธุรกิจ เพราะเชื่อมั่นว่าจะสร้างประโยชน์ให้ธุรกิจได้อย่างสูงในอนาคต ไม่ว่าจะเป็นด้านลดต้นทุน ควบคุมการผลิตได้มาตรฐาน ช่วยขยายตลาดไปสู่สากล เป็นต้น

        จากความต้องการดังกล่าว ธพว. จึงวางยุทธศาสตร์การทำงานมุ่งส่งเสริมเอสเอ็มอีไทยให้ยกระดับธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล สามารถเข้าสู่ยุคไทยแลนด์ 4.0 โดยผ่านการให้บริการเงินทุนคู่ความรู้ ได้แก่ สินเชื่อดอกเบี้ยต่ำเริ่มต้นเพียง 1%ต่อปี เพื่อให้ผู้ประกอบการนำไปลงทุนเครื่องจักร เทคโนโลยี ซึ่งสามารถยื่นกู้ง่ายๆ ผ่านแพลตฟอร์ม ‘SME D Bank’ ตลอด 24x7 หมายถึง 24 ชั่วโมง 7 วัน ทำงานควบคู่กับหน่วยบริการเคลื่อนที่ ‘รถม้าเติมทุน ส่งเสริม SMEsไทย ฉับไว ไปถึงถิ่น’ ซึ่งพนักงานธนาคาร ยึดรหัส 8-8-7 คือ ให้บริการตั้งแต่ 8 โมงเช้าถึง 2 ทุ่ม (8:00-20:00น.) ตลอด 7 วัน ช่วยให้เอสเอ็มอีเข้าถึงแหล่งทุนได้ง่าย สะดวก ทุกเวลา และทุกสถานที่ รวมถึง ในแพลตฟอร์ม ‘SME D Bank’ รวบรวมเครื่องมือเสริมแกร่งธุรกิจ (Tools Box) มากกว่า 150 รายการ และคลังข้อมูลความรู้ (e-Library) มากกว่า 1,000 ประโยชน์ ช่วยให้เอสเอ็มอีสามารถเรียนรู้ก้าวทันเทคโนโลยียุคใหม่ได้ด้วยตัวเอง

     อีกทั้ง จัดกิจกรรม และโครงการต่างๆ เติมความรู้ด้านเทคโนโลยีสารสนเทศต่อเนื่อง เช่น โครงการ'ปักหมุด ธุรกิจติดดาว by SME D Bank'พาผู้ประกอบการชุมชน 70,000 ราย มีตัวตนบนโลกการค้าออนไลน์ จัดสัมมนาให้ความรู้การทำตลาดออนไลน์ต่อเนื่อง พัฒนามาตรฐานสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปให้เก็บรักษาได้ยาวนานเหมาะขายออนไลน์ เช่น สนับสนุนเงินทุนให้ผู้ประกอบการไก่ย่างเขาสวนกวาง จ.ขอนแก่น ซื้อเครื่องบรรจุสุญญากาศ กิจกรรมจับคู่ธุรกิจกับผู้ให้บริหารตลาดออนไลน์ อย่าง Shopee และองค์การสภาพัฒนาการค้าฮ่องกง (HKTDC) ให้ความรู้และพาขยายตลาดต่างแดน เช่น จีน ฮ่องกง และอินเดีย เป็นต้น รวมถึง แนะนำสินค้าเกษตรและอาหารแปรรูปไทยผ่านสื่อออนไลน์ ซึ่งมียอดพบเห็น (Reach) จากทั่วโลกมากกว่า 1.2 ล้าน Reach ต่อเดือน เป็นต้น

     “ยุทธศาสตร์การทำงานของ ธพว. เปรียบเหมือนการสร้างถนนสายดิจิทัลสำหรับเอสเอ็มอีไทย ซึ่งถนนเส้นนี้จะมีปัจจัยแวดล้อมพร้อมทุกด้านที่จะพาเอสเอ็มอีไทยเข้าสู่การยกระดับธุรกิจด้วยเทคโนโลยีดิจิทัล ช่วยให้ธุรกิจเข้มแข็ง เติบโต อยู่รอด และยั่งยืนได้ในโลกการค้ายุคปัจจุบันและอนาคต”นายมงคล กล่าว

      นอกจากนั้น ธพว. จะนำข้อเสนอแนะจากกลุ่มตัวอย่างในการสำรวจครั้งนี้ ไปพัฒนาผลิตภัณฑ์สินเชื่อใหม่ รวมถึง ขั้นตอนการให้บริการ เพื่อตอบความต้องการผู้ประกอบการกลุ่มอุตสาหกรรมเกษตรและอาหารแปรรูป ได้อย่างดีที่สุด

Tel: 02-170-8011 Fax: 02-170-8012 Website: www.theway.co.th

dropdown

 

 

SME-หอการค้าไทย 26-11-61

 

Click Donate Support Web

ais 790x90

GC 950x120

SIAM790x90

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!