หมวดหมู่: อบต,

เทศบาลตำบลศีขรภูมิ ร่วมกับ อำเภอศีขรภูมิจัดงาน สืบสานตำนานปราสาทพันปียิ่งใหญ่อลังการ

                บ้านเมือง : คำกอง กันนุฬา/สุรินทร์

     ศีขรภูมิลือเลื่อง เมืองหลวงพ่อปิ่น ปราสาทหินงามเด่น ลำพอกเย็นน้ำใส ผ้าไหมสวยชวนแล กาละแมรสดี เปรมปรีด์สระสี่เหลี่ยม เปี่ยมล้นภาษา

      เมื่อเอ่ยถึงจังหวัดสุรินทร์ คนทั่วไปจะรู้จักมักคุ้น สุรินทร์คือเมืองช้าง ด้วยเหตุนี้ จ.สุรินทร์ จึงกำหนดให้งานช้างเป็นงานประจำปี โดยจัดขึ้นในสัปดาห์ที่ 3 ของเดือนพฤศจิกายน ทุกๆ ปี นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาติส่วนใหญ่มักจะรู้ว่า "สุรินทร์คือถิ่นช้างใหญ่" มีงานแสดงเพียงงานของช้างเท่านั้น แต่แท้จริงแล้วจังหวัดสุรินทร์ยังมีทรัพยากรการท่องเที่ยวอย่างพร้อมมูล มีปัจจัยเพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยวอย่างมีคุณภาพและคุณค่า ซึ่งมิใช่เพื่อการท่องเที่ยวและพักผ่อนอย่างเดียว แต่เพื่อการศึกษาหาความรู้เรื่องราวในอดีตกาลอันแสดงถึงความเจริญรุ่งเรือง อลังการของอดีตกาล เป็นดินแดนที่มีวัฒนธรรมเก่าแก่ตั้งอยู่บนเส้นทางแห่งศูนย์อำนาจการเมืองปกครองยุคเทวราช สมัยขอมเจริญรุ่งเรือง ซึ่งมีโบราณสถานเรียงรายอยู่ไปทั่ว ศิลปกรรมที่ เก่าแก่และสำคัญควรแก่อนุรักษ์และเหมาะแก่การท่องเที่ยวแห่งหนึ่งของ จ.สุรินทร์นั่นคือ ปราสาทศีขรภูมิ

      ปราสาทศีขรภูมิตั้งอยู่ที่บ้านปราสาท ต.ระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ลักษณะปราสาทศีขรภูมิเป็นปราสาทจำนวน 5 หลัง หันหน้าไปทางทิศตะวันออก โดยมีปราสาทประธานอยู่ตรงกลางแต่ละหลังมีลักษณะเหมือนกัน คือ เป็นปราสาทก่อด้วยอิฐหินทรายและศิลาแลงมีแผนผังเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส เพิ่มมุม มีประตูทางทิศตะวันออกเพียงด้านเดียวตั้งอยู่บนฐานศิลาแลงรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้ามีคูน้ำล้อมยกเว้นทางทิศตะวันตกเป็นทางเดินสู่ปราสาทและปราสาทประธานปราสาทบริวารองค์ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้มีสภาพที่สมบูรณ์ตั้งแต่ฐานถึงยอดส่วนปราสาทบริวารที่เหลืออีก 3 หลัง มีสภาพชำรุดส่วนยอดที่หายไป

      ประวัติความสำคัญปราสาทศีขรภูมิเป็นศาสนสถานในศาสนาอินดูลัทธิไศวะนิกายที่นับถือพระศิวะเป็นเทพเจ้าสูงสุดศิลปะขอมสมัยนครวัดครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 17 โบราณสถานแห่งนี้เป็นศาสนสถานศูนย์กลางของศาสนาอินดูประจำชุมชนโบราณ วัฒนธรรมขอม ในเขตอำเภอศีขรภูมิ ระหว่างครึ่งหลังพุทธศตวรรษที่ 11-18 และภายหลังอาณาจักรขอมเสื่อมลงปราสาทแห่งนี้จึงถูกทิ้งร้างไป

     ราวในพุทธศตวรรษที่ 21-23 ปราสาทศีขรภูมิได้ถูกดัดแปลงให้เป็นวัดในศาสนาพุทธลิทธิหินยาม ประจำชุมชนแถบนี้สืบมาดังปรากฏหลักฐานที่สำคัญ คือ ศิลา จารึก วงกบ ขอบประตูด้านทิศใต้ของปราสาทบริวารด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้อักษรธรรมภาษาไทย-บาลีอายุราวศตวรรษที่ 22-23 กล่าวถึงพระเถระผู้ใหญ่แล้วท้าวพระยาร่วมกันบูรณะปราสาทศีขรภูมิให้เป็นวัดนอกจากนี้แล้วภายในห้องครรภคฤหของปราสาทถูกดัดแปลงเพื่อใช้ประดิษฐานพระพุทธรูป ส่วนยอดขององค์ปราสาทประธานก็ถูกดัดแปลงเพื่อใช้ประดิษฐานพระพุทธรูปเช่นกัน และที่สำคัญส่วนยอดของปราสาทประธานและปราสาทบริเวณด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้ถูกดัดแปลงให้เป็นยอดแบบพระธาตุศิลปะลาว เช่น พระธาตุเมืองจันทร์ อำเภอเมืองจันทร์ จังหวัดศรีสะเกษ

     รูปแบบศิลปะแบบขอม แบบปาปวน และนครวัด แผ่นศิลาทับหลังเหนือกรอบประตูปราสาทหลังประธานสลักเป็นภาพศิวะนาฏราชสิบกร พระนารายณ์สี่กรและพระนาง อุมาบริเวณแสาประดับผนังที่กรอบประตูด้านหน้าสลักรูปเป็นนางอัปสรยืนถือดอกบัวและทวารบาลยืนคุมกระบองจากรูปลักษณะลวดลายสลักปรากฏอยู่บนแผ่นศิลาทับหลัง และเสาประดับผนังปราสาทศีขรภูมิคงสร้างขึ้นในราวกลางพุทธศตวรรษที่ 17 เนื่องจากศาสนาพราหมณ์ลัทธิไศวนิกาย (บูพระศิวะเป้นใหญ่) ต่อมาสมัยอยุธยาตอนปลาย (พุทธศตวรรษที่ 22 สมัยศิลปะล้านช้าง) มีการบูรณะส่วนยอดปราสาทตลอดบูรณะปฏิสังขรณ์ดัดแปลงให้เป็นพุทธสถานมาจนถึงปัจจุบันนี้

      นายบรรจง พิซญาสาธิต นายกเทศมนตรีเทศบาลศีขรภูมิ จังหวัดสุรินทร์ กำหนดจัดงานสืบสานตำนานปราสาทพันปีในปี พ.ศ.2557 ตรงกับวันที่ 14-15 พฤศจิกายน 2557 ที่จะถึงนี้ ณ บริเวณบ้านปราสาทตำบลระแงง อ.ศีขรภูมิ จ.สุรินทร์ ห่างจากอำเภอศีขรภูมิประมาณ 500 เมตร ภายในงานมีการแสดงประกอบกับไฟ แสง สี เสียง พร้อมกับชมการแสดงของชุมชนวัฒนธรรมของชุมชนลาว ส่วย เขมรสัมผัสการจำลองชีวิตขนบธรรมเนียมประเพณีอันทรงค่าของชาวสุรินทร์ตลอดจนชมสินค้าการออกร้านผ้าไหม ที่สวยที่สุดและสินค้าทางการเกษตรนำมาจำหน่ายภายในบริเวณงานอีกด้วย อย่าลืม 1 ปีมีครั้งเดียว ที่ปราสาทตำบลศีขรภูมิ 14-15 พฤศจิกายน 2557 ที่จะถึงนี้ สอบถามประชาสัมพันธ์จังหวัดสุรินทร์และแหล่งการท่องเที่ยวได้ที่ โทร.044-514-605

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!