หมวดหมู่: ASAIN

CBอทธ พศาลวานช


ม.หอการค้าไทย มอง 1 ปีเปิด AEC ไทยยังได้ประโยชน์จากการส่งออกสินค้าเกษตร แต่ระวังสูญเสียตลาดให้อินโดฯ-มาเลเซีย

     มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย ประเมิน 1 ปี การส่งออกสินค้าเกษตรไทย หลังเข้าสู่ AEC พบว่า ไทยยังได้ประโยชน์จากตลาดอาเซียน โดยสินค้าที่ได้ประโยชน์ เช่นข้าวสาร ถั่วเหลือง ยางพารา แต่สินค้าที่สูญเสียประโยชน์ เช่น กาแฟ มันสำปะหลัง อาหารทะเลแปรรูป พร้อมเตือนไทยระวังจะสูญเสียตลาดให้มาเลเซีย และอินโดนีเซีย สำหรับสินค้าบางประเภทที่ยังผลิตเองไม่ได้ หรือมีราคาสูง

      รองศาสตราจารย์ ดร.อัทธ์ พิศาลวานิช ผู้อำนวยการศูนย์ศึกษาการค้าระหว่างประเทศ มหาวิทยาลัยหอการค้าไทย เปิดเผยว่า ขนาดตลาดนำเข้าสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของประเทศในอาเซียนก่อนปี 58 มีมูลค่าเฉลี่ยอยู่ที่ 3 ล้านล้านบาท และในปี 59 เพิ่มขึ้นเป็น 3.7 ล้านล้านบาท โดยปี 60 คาดว่าขนาดตลาดจะขยับสูงขึ้นมาอยู่ที่ 4 ล้านล้านบาท

     โดยการส่งออกสินค้าเกษตรและอุตสาหกรรมเกษตรของไทยในตลาดอาเซียนก่อนเข้าสู่ AEC(เฉลี่ยช่วงปี 53-58) มูลค่าส่งออกอยู่ที่ 261,457 ล้านบาท หลังเข้าสู่ AEC ในปี 59 อยู่ที่ 321,549 ล้านบาท

      สำหรับ มูลค่ารวมตลาดอาเซียนของไทยหลังเข้าสู่ AEC สูงถึง 7,416 ล้านบาท ส่วนในตลาดอาเซียน 5 อยู่ที่ 6,366 ล้านบาท และ ในตลาด CLMV อยู่ที่ 1,050 ล้านบาท

     โดยสินค้าที่ไทยได้ประโยชน์ในตลาดอาเซียน ประกอบด้วย ข้าวสาร ทั้งข้าวหอมมะลิ ข้าวขาว ข้าวเหนียว ยางพารา ข้าวโพด ถั่วเหลือง มะม่วงสดและแห้ง เนื้อสัตว์แปรรูป ซึ่งมูลค่าที่ไทยได้ประโยชน์สูงถึง 9,015 ล้านบาท

    ส่วนรายการสินค้าที่ไทยเสียประโยชน์ในตลาดอาเซียน ประกอบด้วย กาแฟ มันสำปะหลัง มะพร้าว กล้วยสดและแห้ง อาหารทะเลแปรรูป โดยมูลค่าที่ไทยเสียประโยชน์หดตัวไป 1,599 ล้านบาท

     หลังไทยเข้าสู่ AEC มา 1 ปี ได้ประโยชน์อยู่ แต่ปีถัดไปเราจะเสียตลาดให้กับอินโดนีเซีย และ มาเลเซีย เพราะสินค้าบางประเภทเราผลิตไม่ได้ หรือ ผลิตได้แต่ราคาสูงกว่าคู่แข่ง ซึ่งเบื้องต้นประเมินว่ามูลค่าจะลดลง 10% อย่างไรก็ตาม สินค้าที่ยังแข่งขันได้ยังเป็นข้าวหอมมะลิ ยางพารา เนื้อสัตว์แปรรูป และ อาหารทะเลแปรรูปดร.อัทธ์ กล่าว

    นอกจากนี้ ในตลาดกลุ่ม CLMV พบว่า มีการเติบโตทางเศรษฐกิจเฉลี่ย 7-8% ต่อปี และ มีฐานการผลิตที่ใหญ่ที่สำคัญติดกับไทย และ สามารถส่งออกไปจีนที่เป็นประเทศคู่ค้าที่สำคัญ ซึ่งไทยมีการเติบโตที่เฉลี่ย 3% เท่านั้นทำให้ไทยเสียเปรียบส่วนแบ่งทางการตลาดในกลุ่ม CLMV

     อย่างไรก็ตาม สิ่งที่ภาครัฐต้องดำเนินการเพื่อให้ไทยได้ประโยชน์จาก AEC อย่างเต็มที่นั้น ทางผู้ประกอบการต้องการให้ภาครัฐส่งเสริมการพัฒนาคุณภาพสินค้าและศักยภาพของผู้ส่งออกเพื่อสร้างความสามารถในการแข่งขัน ตลอดจนจัดกิจกรรมส่งเสริมผู้ประกอบการ SME ในการเข้าไปทำตลาดใน AEC เช่น การแสดงสินค้า

     ผู้ส่งออกสินค้าเกษตรและเกษตรแปรรูปของไทย โดยส่วนใหญ่คาดว่าการเข้ามาของทรัมป์ไม่กระทบต่อการส่งออกของไทยทั้งในตลาดโลก ตลาดสหรัฐ และ ตลาดอาเซียน โดยในตลาดอาเซียนผู้ส่งออกสินค้า เกษตรและเกษตรแปรรูปของไทย 13.8% คาดว่ามูลค่าการส่งออกจะลดลง เพราะนโยบายทรัมป์ไม่สนับสนุนการค้าเสรีอาจมีการกีดกันสินค้าจากเอเชีย หรือ ใช้มาตรการด้านการค้าต่างๆ และ การชะลอตัวของเศรษฐกิจสหรัฐในช่วงที่มีการเปลี่ยนแปลงดร.อัทธ์ กล่าว

สำนักข่าวอีไฟแนนซ์ไทย

ooKbee1

corehoon NEW2

 

 

ข่าวล่าสุด!!